โครงงานเรื่องไดโนเสาร์ ยุคจูแรสซิก Jurassic
ยุคจูแรสซิก(Jurassic)
เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก จูราสสิคเริ่มเมื่อ 199 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ชื่อจูแรสซิกตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart)
เมื่อผืนแผ่นดินใหญ่ทวีปแพนเจียแยกตัวทำให้เกิดหมู่เกาะขึ้นบนโลกมากมายความอุดมสมบูรณ์กระจายเข้าครอบคลุมทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผืนป่า น่านฟ้า และมหาสมุทร และเกิดเป็นชายสั่งน้ำตื้นมากมายรอดหมู่เกาะ โลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์น มีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้ นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใหม่ของพวกพืช การวิวัฒนาการขั้นสูงสุดในยุคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับพืชพันธุ์เท่านั้น มันยังทำให้ไดโนเสาร์กลายเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่โลกนี้เคยมีมา ถือว่ายุคจูราสสิคเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกจริงๆก็ว่าได้
ประเภทของไดโนเสาร์
นักโบราณชีววิทยาได้แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ โดยอาศัยความแตกต่างของกระดูดเชิงกราน
1.) พวกซอริสเซียน (Saurischians) มีกระดูกเชิงกรานเป็นแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูกพิวบิสและอิสเซียม แยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง
2.) พวกออรินิธิสเซียน (Ornithiscians) มีกระดูกเชิงกรานเป็นแบบนก คือ กระดูกพิวบิสและอิสเซียม ชี้ไปทางด้านหลัง
รายชื่อไดโนเสาร์
เคนโทรซอรัส( Kentrosaurus) ลำตัวส่วนหน้ามีแผงกระดูกอยู่ ส่วนหลังถึงหางมีหนามแหลมคมอยู่ อาศัยในยุคจูแรสซิกตอนปลาย ขนาดทั่วไปประมาณ 4.5 เมตร (15ฟุต) มีน้ำหนักประมาณหนึ่งตัน อาวุธหลักคือหนามยาวหนึ่งคู่ตรงหาง กินพืชเป็นอาหาร
เตาเจียงโกซอรัส( Tuojiangosaurus กิ้งก่าแห่งแม่น้ำเตา) มีแผงเต็มหลังและมีหนามแหลมอยู่ที่ปลายหางหลายเล่ม มีสายพันธุ์ไกล้เคียงกับไดโนเสาร์ตระกูลสเตโกซอรัส สูงประมาณ 2 เมตร มีน้ำหนัก 2.8 ตัน กินพืชเป็นอาหาร อยู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลาย
สเตโกซอรัส( Stegosaurus กิ่งก่ามีหลังคา ) มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบฉีดเลือดไปที่เกล็ดและมีหนามแหลมที่ปลายหาง ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตัน กินพืชเป็นอาหาร อยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น
แคมป์โทซอรัส(Camptosaurus กิ้งก่าหลังโค้ง ) โครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรน้ำหนัก 785-874 กิโลกรัม อยู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลาย
อะเเพโทซอรัส( Apatosaurus กิ้งก่าปลอม ) เป็นไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ลักษณะคอยาว หางยาว หัวเล็ก ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ กินพืชเป็นอาหาร อยู่ในยุคจูแรสซิก
ไดพลอโดคัส( Diplodocus ) เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวจากปลายจมูกถึงปลายหางประมาณ 25-27 เมตรและมีนำ้หนักเพียง 17-25 ตัน มีลำคอและหางที่ยาวมากถ่วงน้ำหนักกัน ที่ปลายหางมีก้อนกระดูกจำนวนมากที่หลอมรวมกัน กะโหลกของมันเล็กมาก มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสออยู่บริเวณด้านหน้าของกราม อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก
แบรคิโอซอรัส( Brachiosaurus ) เป็นซอโรพอตขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 30 เมตร สูง 13-15 เมตร หนัก 78 ตันอาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก 200-130 ล้านปีก่อน ลักษณะเด่นของแบรคิโอซอรัสที่ต่างจากซอโรพอดอื่นคือ บริเวณจมูกบนกระหม่อมมีโหนกยื่นขึ้นมาชัดเจนกว่าซอโรพอดอื่น หางสั้นไม่มีปลายแส้ มีขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลัง ทำให้มันสามารถหาใบไม้บนยอดสูงได้ดีกว่าพวกอื่น และมีประโยชน์ในการมองเห็นไดโนเสาร์กินเนื้อแต่ไกล เป็นไดโนเสาร์กินพืช
แคมาราซอรัส( Camarasaurus ) เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาว 18 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 18-20 ตัน ลักษณะเด่นกะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น
มาเมนซีซอรัส( Mamenchisaurus ) เป็นไดโนเสาร์กินพืชคอยาว อาศัยบนโลกในช่วง 145 - 150 ล้านปีมาแล้วช่วงปลายของจูแรสซิก น้ำหนักประมาณ 27 กิโลกรัม สูง 11 เมตร ยาว 20 เมตร
อาร์คีออปเทอริกซ์( Archaeopteryx )เป็นสกุลของไดโนเสาร์เทอโรพอดซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับนก อยู่ในช่วงปลายของยุคจูแรสซิกหรือประมาณ 150 ล้านปีมาแล้ว อาร์คีออปเทอริกซ์มีความยาวของลำตัวได้ถึง 0.5 เมตร (1.6 ฟุต) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ลักษณะของกรามที่มีฟันแหลมคม มีนิ้วสามนิ้ว และมีกงเล็บ มีกระดูกหางยาว มีนิ้วเท้านิ้วที่สองยื่นยาวออกไปมากเป็นพิเศษ มีขนแบบนก
ออร์นิโธเลสทิส( Ornitholestes ) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่ดุร้าย อายุเก่าแก่ 152-145 ล้านปี ลักษณะหัวมีขนาดค่อนข้างสั้น ฟันใหญ่ และคม ซึ่งบอก เราได้ว่า มันมีกำลัง กัดเคี้ยว รุนแรงมาก และน่าจะ เป็นนักวิ่ง ที่รวดเร็ว มีมือที่ แข็งแรง มีนิ้ว 3 นิ้ว นิ้วแรกสั้น และสามารถ ขยับเข้ามา ในระหว่าง อีก 2 นิ้วที่เหลือได้ ทำให้มี กำลังในการจับมากขึ้น สูงประมาณ91 ซม. ยาว1.8 ม. น้ำหนักประมาณ11 กิโล
คอมป์ซอกนาทัส( Compsaganthus )เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด สกุลไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 70 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัม เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อจำพวกแมลงกับหนู อาศัยอยู่ปลายยุคจูแรสซิก และวิ่งได้เร็ว
ไซน์แรปเตอร์( Sinraptor ) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าราชาหัวขโมยแห่งจีน ยาวประมาณ 6 เมตร สูง 3 เมตร หนักประมาณ 1200 กิโล อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลานเมื่อประมาณ 160 ล้านปีก่อน
เซอราโตซอรัส( Ceratosaurus ) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อเทอโรพอด อยู่ช่วงปลายยุคจูแรสซิก ความยาวลำตัวประมาณ 6 เมตร มีลักษณะ คล้ายอัลโลซอรัส แต่มีส่วนหัวที่โตกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว แขนสั้นและเล็กมี 4 นิ้วไม่น่าใช้เป็นอาวุธได้ และมีเขายื่นออกมาจากเหนือจมูกและดวงตา เป็นเอกลักษณ์และที่มาของชื่อ "กิ้งก่ามีเขา"ของมัน แต่เขาของเซราโตซอรัส เป็นแผ่นกระดูกบางๆ ไม่แข็งแกร่งพอจะเอาไปใช้เป็นอาวุธได้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า เขาของมันน่าจะมีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย
มอโนโลโฟซอรัส( Monolophosaurus )เป็นเทอโรพอดจากยุคจูแรสซิกเมื่อประมาณ 170 ล้านปีก่อน
มีขนาดยาว 5 เมตร (16ฟุต) กินเนื้อเป็นอาหารไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่บนชายฝั่งของทะเลสาบหรือมหาสมุทร มอโนโลโฟซอรัส น่าจะพัฒนามาจากเมกะโลซอรัส มอโนโลโฟซอรัสถูกจัดให้อยู่ในตระกูลอัลโลซอร์แต่โครงกระดูกโดยบอกว่า มอโนโลโฟซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ในตระกูล เทตันนูรี
เทอโรแดคทิลลัส( Pterodactylus ) เป็นสกุลหนึ่งของเทอโรซอร์ ตอนนี้มีอยู่แค่หนึ่งสายพันธุ์คือ Pterodactylus antiquus มีอายุอยู่ในช่วงยุคจูแรสซิกตอนปลายประมาณ 150.8–148.5 ล้านปีก่อน มันเป็นสัตว์กินเนื้อ และมีความเป็นไปได้ที่จะกินปลา และสัตว์เล็กตัวอื่น ๆ ลักษณะกระโหลกของเทอโรแดคทิลลัสนั้นยาวและบางมาก มีฟันทรงกรวย ไม่เหมือนกับเทอโรซอร์ตัวอื่นๆ กระโหลก และขากรรไกรนั้นตรง ไม่เอียงขึ้น
ซอร์เดส( Sordes ) เป็นเทอโรซอร์ตัวเล็กจากจูแรสซิกตอนปลาย มีขนาดปีกอยู่ที่ 0.63 เมตร ลักษณะเป็นขนาดปีกที่สั้นมาก. คอของซอร์เดส นั้นสั้น และมีหางที่ยาว กะโหลกของมันดูเรียวเรียบ ไม่กลม ขนาดหัวยาวมาก มีฟัน กระโหลกใหญ่ประมาณ 8 ซม. ไม่เหมือนกับเทอโรซอร์ส่วนใหญ่ มันไม่มีหงอนที่ท้ายหัว
แรมโฟริงคัส( Rhamphorhynchus ) เป็นเทอโรซอร์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น-ยุคจูแรสซิกตอนปลาย ลักษณะ มีฟันแหลมคมไว้ใช้สำหรับจับปลา และมีหางยาว ซึ่งปลายหางมีหางเสือรูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งใช้ในการรักษาสมดุล
ไลโอพลัวเรอลอน( Liopleurodon ) คือ"กิ้งก่าฟันเรียบด้าน"เป็นสกุลกิ้งก่าทะเลในตระกูลสัตว์เลื้อยคลานที่เรียกกันว่าไพลโอซอร์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในกลางยุคจูแรสซิก ประมาณ 160-158 ล้านปีก่อน เป็นกลุ่มนักล่าที่ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเลที่ครอบคลุมพื้นที่ ยุโรป ศีรษะที่มีความยาวประมาณ 1 ใน 7 ของลำตัวตัวยาวได้ระหว่าง 7-11.3 เมตร มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 2.5-5 ตัน ลักษณะมีขาเป็นพายแข็งแรง เหมือนกิ้งก่าทะเลทั่วไป แสดงให้เห็นว่ามันสามารถว่ายน้ำได้เร็วมากจากพลังขับดันของขา นอกจากนี้ยังมีขากรรไกรยาวพร้อมฟันแหลมคม และสามารถรับรู้กลิ่นได้ดี โดยมันจะได้กลิ่นเหยื่อตั้งแต่ระยะไกล
เพโลนิอัสเทส ( Peloneustes )เป็นสกุลสัตว์เลื้อยคลาน มัความยาวประมาณ 3 เมตร ลักษณะมีคอสั้นและกรามยาวที่สามารถจับเหยื่อขนาดใหญ่ได้ ร่างกายที่เพรียวบางของมันปล่อยให้มันไล่ล่าเหยื่ออย่างรวดเร็วเช่น เบเลมไนล์
ยูสเตปโตสปอนดิลัส( Eustreptospondylus ) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายช่วง154-163 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 6 เมตร( 20ฟุต )และน้ำหนัก 0.5 ตัน สูงประมาณ 1.8 เมตร ลักษณะมีกระโหลกศีรษะค่อนข้างหนา ขากรรไกรเหล่านี้ที่ด้านหน้าค่อนข้างสูงและกว้าง มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับStreptospondylus
สเมกะโลซอรัส( Megalosaurus )กิ้งก่ายักษ์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อหรือเทอโรพอดมีชีวิตในยุคจูแรสซิกซิกตอนกลาง เมื่อประมาณ 166 ล้านปีก่อน เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ ลักษณะมีหัวขนาดใหญ่ ฟันแบบกินเนื้อ เดินด้วยสองขาที่ทรงพลัง มีหางยาวและใหญ่รักษาสมดุลของร่างกาย เคลื่อนไหงอย่างอิสระ มีขาหน้าเล็กและสั้น ลำตัวยาว 9-10 เมตร มีน้ำหนักราว 1.5 ตัน
Heterodontosaurus เป็นไดโนเสาร์กินพืชหรือกินไม่เลือก มีชีวิตอยู่ในจูแรสซิกตอนต้น ช่วง 200-190 ปีก่อน เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1.18 เมตร หนักราว 2.59 กิโล ลักษณะ กระดูกสันหลัง 9 ซี่เป็นรูปตัวS เคลื่อนที่ 4 เท้า มีการทวิ เปลี่ยนฟันเป็นระยะๆและไม่ต่อเนื่อง
วัลแคนโนดอน ( Vulcanodon ) เป็นไดโนเสาร์กินพืช มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น ช่วง 200 ปีก่อนเดินสี่ขา มีความยาวประมาณ 11 เมตร( 35ฟุต ) กระดูกต้นขายาว 11 ซม. ลักษณะ ขามีรูปทรงคล้ายเสา มีกรงเล็บขนาดใหญ่ที่แบน
แมสโสสปอนดิลัส( Massospondylus )สันหลังใหญ่ วงศ์เพลททีโอซอรีเด เป็นไดโนเสาร์กินพืช มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น เดินได้ทั้ง 2ขาและ 4ขา ยาวประมาณ 13 ฟุต ลักษณะมีคอและหางยาว ลำตัวขนาดใหญ่ หนา มือใหญ่ ฟันด้านในมีด้านข้างติดเรียบ และอาจมีเขา หรือปุ่มเล็ก ๆ บนจะงอยปาก
ไครโอโลโฟซอรัส( Cryolophosaurus ) กิ้งก่าหงอนแช่แข็ง เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ อยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น ไครโอโลโฟซอรัสอยุ่ในกลุ่มไดโลโฟซอรัดส์ ยาวประมาณ 6.5-8 เมตร หนักราว 460-500 กิโลหงอนมีลักษณะเป็นรูปพัด มีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย
ไดโลโฟซอรัส( Dilophosaurus ) มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น เมื่อประมาณ 208 ล้านปีก่อน ยาวประมาณ 6-7 เมตร ลักษณะมันมีฟันหน้าอันแหลมคมที่นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่ามีไว้สำหรับฉีกเนื้อมากกว่าการขย้ำหรือขบกัดเพราะมีกระโหลกที่ค่อนข้างจะเปราะบาง หงอนของมันจะมีเฉเพาะตัวผู้เท่านั้น สันนิษฐานว่ามีไว้อวดตัวเมียเวลาผสมพันธุ์คล้ายกับของสัตว์ปีกในปัจจุบัน ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ามีสองหงอน
ไดมอร์โฟดอน( Dimorphodon ) มีชีวิตอยู่ในยุคจูราสซิกตอนต้น ช่วง 175-160 ล้านปีก่อน เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ ยาวประมาณ 2 ฟุต หนักประมาณ 2 ปอนด์และมีปีกขนาดประมาณ 4 ฟุต ลักษณะมันมีฟันสองชนิดที่แตกต่างกันในขากรรไกร ฟันหน้าดูเหมือนว่าพวกมันถูกออกแบบมาเพื่อจับเหยื่อและหลังของมันก็ดูเหมือนว่ามันถูกใช้เพื่อบดขยี้สิ่งต่าง ๆ มีหางยาวและตอนท้ายมีรูปร่างเหมือนเพชรทำให้เสถียรระหว่างบิน
ไดโลโฟซอรัส( Dilophosaurus ) มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น เมื่อประมาณ 208 ล้านปีก่อน ยาวประมาณ 6-7 เมตร ลักษณะมันมีฟันหน้าอันแหลมคมที่นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่ามีไว้สำหรับฉีกเนื้อมากกว่าการขย้ำหรือขบกัดเพราะมีกระโหลกที่ค่อนข้างจะเปราะบาง หงอนของมันจะมีเฉเพาะตัวผู้เท่านั้น สันนิษฐานว่ามีไว้อวดตัวเมียเวลาผสมพันธุ์คล้ายกับของสัตว์ปีกในปัจจุบัน ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ามีสองหงอน
ไดมอร์โฟดอน( Dimorphodon ) มีชีวิตอยู่ในยุคจูราสซิกตอนต้น ช่วง 175-160 ล้านปีก่อน เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ ยาวประมาณ 2 ฟุต หนักประมาณ 2 ปอนด์และมีปีกขนาดประมาณ 4 ฟุต ลักษณะมันมีฟันสองชนิดที่แตกต่างกันในขากรรไกร ฟันหน้าดูเหมือนว่าพวกมันถูกออกแบบมาเพื่อจับเหยื่อและหลังของมันก็ดูเหมือนว่ามันถูกใช้เพื่อบดขยี้สิ่งต่าง ๆ มีหางยาวและตอนท้ายมีรูปร่างเหมือนเพชรทำให้เสถียรระหว่างบิน
พรีซีโอซอรัส( Plesiosaurus ) มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้นถึงกลางยุค ช่วง 135-120 ล้านปีก่อน ลักษณะมีหัวเล็ก กะโหลกแคบ คอยาวรูปร่างเพรียวบางและครีบกว้าง ยาวประมาณ 15 ฟุต และพวกมันจะขึ้นมาวางไข่บนบก
แบบทดสอบความรู้